เจ็บเข่าเกิดได้จากหลายสาเหตุ หากรู้สึกเจ็บหรือพบความผิดปกติที่เข่า เช่น เข่าผิดรูปร่าง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะมีวิธีการวินิจฉัยอาการเจ็บเข่า ดังนี้
- สอบถามประวัติทางการแพทย์ คือการสอบถามอาการเบื้องต้นของผู้ป่วย เช่น ระยะเวลาที่รู้สึกปวด อาการปวด นอกจากนั้นแพทย์จะสอบถามถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจส่งผลถึงอาการปวดเข่า เช่น ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วย เป็นต้น
- การตรวจร่างกาย แพทย์ตรวจสอบการเคลื่อนไหวของเข่าและคาดคะเนตำแหน่งของการบาดเจ็บจากการ หมุนเข่า ยืดเข่า และการใช้แรงกดลงไปบนเข่า ในบางครั้งแพทย์อาจให้ผู้ป่วยลองเดิน ยืน หรือนั่งยอง ๆ เพื่อตรวจสอบการทำงานของเข่า
- เครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัย แพทย์จะเลือกใช้การตรวจวินิจฉัยให้เหมาะสมกับอาการและผลตรวจร่างกายที่พบ ดังนี้
- เอกซเรย์ (X-Ray) คือการใช้รังสีเอกซ์สร้างภาพ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) คือการใช้รังสีเอ็กซ์สร้างภาพ 3 มิติของเข่าที่มีอาการเจ็บ โดยภาพที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแสดงถึง เนื้อเยื่ออ่อน เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ ที่มีความละเอียดมากกว่าการใช้วิธีเอกซเรย์
- อัลตราซาวด์ (Ultrasound) คือการใช้คลื่นเสียงเพื่อแสดงโครงสร้างของเนื้อเยื่ออ่อนภายในเข่า
- การใช้เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) คือการใช้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อสร้างภาพส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเข่า สามารถแสดงรายละเอียดเนื้อเยื่ออ่อนได้ชัดเจนกว่าวิธีอื่น ซึ่งมักถูกนำมาใช้ตรวจหาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกระดูก
- การส่องกล้องตรวจภายในข้อ (Arthroscopy) คือเทคนิคการผ่าตัดแบบหนึ่ง โดยแพทย์จะสร้างแผลเล็ก ๆ บริเวณเข่าและสอดท่อขนาดเล็กที่มีกล้องเข้าไป เพื่อตรวจสอบภายในข้อเข่า
- การเจาะระบายน้ำในข้อ (Joint Aspiration) คือการใช้กระบอกฉีดยาดูดของเหลวภายในเข่าออกมา เพื่อลดอาการบวม โดยแพทย์จะนำของเหลวมาตรวจสอบการอักเสบ หรือการติดเชื้อภายในเข่า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น