วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

ปวดเข่า ในวัยรุ่น

โรคข้อเข่าเสื่อม



 ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตของคนเราในยุคปัจจุบันที่ต้องเร่งรีบแข่งขันกับเวลา ทำให้หลายคนตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้าก็มีภาระกิจต่างๆ มากมายรออยู่ในแต่ละวัน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ยังต้องเจอกับปัญหาการจราจรที่ติดขัดไปทั่วเมืองด้วย ปัญหาเหล่านี้ทำให้คนจำนวนไม่น้อยห่างไกลการออกกำลังกายมากขึ้น เมื่อต้องทำงานหนักและนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แถมการกินอาหารในแต่ละมื้อก็ไม่ได้เลือกสิ่งที่มีประโยชน์มากนัก ท้ายที่สุดจึงส่งผลเสียต่อร่างกายไม่เฉพาะปัญหาน้ำหนักหรือไขมันเกินเท่านั้น แต่ในบางคนแม้ว่าอายุยังน้อยแต่ก็ส่งผลไปถึงไขข้อกระดูกด้วย ซึ่งหากปล่อยให้เรื้อรังนานวันอาจพัฒนาไปสู่การป่วยเป็น “

ข้อเข่าเสื่อมในวัยรุ่น


โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อย


    ถึงตรงนี้หลายคนอาจแปลกใจว่า โรคข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดขึ้นในคนที่อายุน้อยได้ด้วยหรือ เพราะตามปกติมักจะได้ยินว่ากลุ่มเสี่ยงของโรคนี้ ส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป เพราะกระดูกอ่อนผิวข้อจะเสื่อมสภาพไปตามธรรมชาติ ทำให้น้ำหนักตัวกดทับเข่าโดยตรง เหมือนยางรถยนต์ที่ตั้งศูนย์ไม่ดีข้างที่รับน้ำหนักมากจึงเสื่อม หรือไม่ก็มักเกิดขึ้นกับนักกีฬาวิ่งและฟุตบอลเพราะใช้ขาเยอะ และเกิดการบาดเจ็บที่หัวเข่าบ่อยๆ มีการฉีกขาดของเอ็นส่งผลให้เข่าคลอนแคลนและเสื่อมเร็ว แต่ด้วยไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมถึงพฤติกรรมการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่เยอะซึ่งทำให้กระดูกตายได้ ทำให้อุบัติการณ์ป่วยตั้งแต่อายุไม่มากมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิ่งมาราธอนที่กำลังได้รับนิยม ทำให้ความเสี่ยงข้อเข่าเสื่อมในอนาคตสูงกว่าปกติถึง 3 เท่า..
    นายแพทย์สุทร บวรรัตนเวช ผู้อำนวยการใหญ่ ศูนย์อุบัติเหตุและออร์โธปิดิกส์ ในเครือบริษัท และผู้อำนวยการอาวุโส ศูนย์กระดูกและข้อกรุงเทพ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) บอกว่า นอกจากพันธุกรรมที่เป็นปัจจัยหลักทำให้คนไทย เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมตั้งแต่อายุไม่เยอะแล้ว ทุกวันนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเรายังเพิ่มโอกาสการสึกหรอของข้อเข่ามากขึ้นด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ทำกิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการเดิน วิ่ง หรือกระโดดบ่อยๆ ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มนักกีฬา เช่น ยกน้ำหนัก เพราะข้อต้องรับแรงกระแทกและแรงบดค่อนข้างมาก และ ฟุตบอล เพราะมักเกิดอุบัติเหตุเอ็นขาดทำให้การรองรับแรงกระแทกไม่ดี ส่วนการวิ่งมาราธอนซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบันนั้น แม้ไม่ทำให้เกิดแรงกระแทกรุนแรงเท่ากับกีฬา 2 ประเภทข้างต้น แต่ก็อาจเป็นปัจจัยนำไปสู่การเสื่อมของข้อเข่าได้เช่นกัน ซึ่งการรักษาก็มีหลากหลายรูปแบบทั้งกินยา กายภาพบำบัด การตัดหรือปรับกระดูกที่โก่งงอให้ตรง แต่สำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมนั้น แพทย์จะทำก็ต่อเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ เพราะถ้าผ่าตัดเปลี่ยนตั้งแต่อายุยังน้อยในอนาคต อาจต้องมาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมใหม่ เพราะอายุการใช้งานส่วนใหญ่อยู่ได้เพียง 10-15 ปีเท่านั้น